คณิตคิดสนุก ในทฤษฎีพระเคราะห์สนธิ ตอน 2โพสต์ 28 ส.ค.56 11:09 น. : อ่าน 32767

บทความนี้มี ตอนที่ 1 ด้วย

การที่เรามองเห็นจุดอิทธิพลในรูปแบบอื่นๆ เช่น A+B , A-B , A+B+C , A-B-C , A+B-C/D หรือ แม้แต่ A/B//C และ A/B//C/D ที่จริงแล้วก็คือ A+B-C หรือ A/B เท่านั้น(ใน 2 กรณีหลัง) เรามาลองพิสูจน์กัน

1) A+B มาจาก A+B-AR นั่นเอง คือ C = 0 องศาหรือจุดเมษ ดังนั้น จุด A+B ก็คือการนำเอา จุดเมษไปสะท้อนกับแกนของศูนย์รังสี A/B สรุปได้ว่า A+B คือ A+B-C โดยที่ C มีค่าเป็น 0 องศา ดูจากภาพ

clip_image002

2) A-B มาจาก AR+A-B คือ AR = 0 องศาหรือจุดเมษ ดังนั้นจุด A-B คือ การนำเอาจุด B ไปสะท้อนกับแกนศูนย์รังสีของ AR/A นั่นเอง สรุปได้ว่า A-B คือ A+B-C โดยที่ A มี่ค่าเป็น 0 องศานั่นเอง ดูจากภาพ

clip_image004

3) A+B+C ก็สามารถเขียนใหม่ได้ในรูปของ A+B-C คือ A+B-(-C) ตามหลักคณิตศาสตร์ของลบกับลบเป็นบวกนั่นเอง ซึ่งก็คือ การนำจุดสะท้อนของ C มาสะท้อนกับแกน A/B นั่นเอง

และอาจเขียนให้ซับซ้อนเป็น A+B-(AR+AR-C) ก็ยังได้

clip_image006

4) และเช่นกัน A-B-C ก็สามารถเขียนในรูปของ A+B-C คือ A+(-B)-C หรือ A+(AR+AR-B)-C นั่นเอง(ไม่แสดงภาพตัวอย่างเพื่อประหยัดเนื้อที่)

กล่าวโดยสรุปก็คือ Witte ก็นำจุดอิทธิพลมาจากโหราศาสตร์ดั้งเดิมคือ A+B-C นั่นเอง มิได้เป็นเรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด และจึงเป็นข้อคิดในการนำจุดอิทธิพลประเภท A+B+C หรือ A-B-C มาใช้ว่า เป็นการใช้จุดอิทธิพลแบบซับซ้อนกันของจุดอิทธิพลเอง น่าจะย่อมได้รับอิทธิพลที่เบาบางลงไปอีก

5) นอกจากนี้เรายังจะสามารถแปลง A=B/C ให้เป็น A+A-B=C หรือ A+A-C=B ตรงนี้จึงเป็นเหตุผลว่าเราควรให้ความสนใจของศูนย์รังสีที่มีแขนข้างหนึ่งเป็นจุดเจ้าชะตาประกอบด้วยเช่น JU=MA/SU เราอาจเขียนใหม่ได้เป็น JU+JU-MA=SU ได้ด้วย

6) และเช่นกัน เราสามารถแปลงจาก A/B=C/D เป็น A+B-C=D ด้วย ข้อควรระวังในการแปลงศูนย์รังสีเป็นจุดอิทธิพล ก็คือ มุมและระยะวังกะจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว ตามหลักของการหาร 2 เช่นในดวงเมืองมี SU/MA=MC/AP มุม 45 วังกะ 53 ลิปดา แปลงเป็นจุดอิทธิพล SU+MA-AP=MC มุม 90 วังกะ 1:46 ลิปดา จึงอาจทำให้ระยะวังกะมากเกินกว่าที่ประสงค์ก็เป็นได้

7) มีบ่อยครั้งที่นักโหราศาสตร์จะใช้วิธีแทนค่าสมการลงไปในสูตรจุดอิทธิพล A+B-C = D เมื่อ พบว่า B=X+Y-Z ก็จะนำค่าไปแทนเป็น A +(X+Y-Z)-C=D วิธีการดังกล่าวบางครั้งจะทำให้มีผลกระทบกับมุมสัมพันธ์และระยะวังกะเช่นกัน จึงต้องพิจารณาด้วย

8) ควรระลึกไว้เสมอว่า เรามิได้นำคณิตศาสตร์มาใช้โดยตรงในการสร้างจุดอิทธิพลขึ้นมา แต่แฝงไปด้วยหลักสำคัญ 2 ประการคือ ศูนย์รังสี และจุดสะท้อน ด้วย นั่นคือเรามิใช่แค่นำเอาค่าองศาดาวมาบวกลบกันเท่านั้น ทำความเข้าใจที่มาเพื่อจะได้ตีความได้สอดคล้อง เราจึงจะไม่ใช้ A+B+C+D+…(ตัวอย่าง)ลอยๆ โดยไม่สามารถตีความให้เป็น A+B-C ได้ จึงขอย้ำอีกครั้งว่า A+B-C มิใช่การนำเอาค่าองศาของปัจจัยมาบวกลบกัน แต่เป็นการนำเอาปัจจัย C ไปสะท้อนกับศูนย์รังสีของ A/B


ยังมีต่อในตอนที่ 3 ….



ระบบเรือนชะตา ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน การพยากรณ์จร ด้วยโค้งจันทรยาตร์
คณิตคิดสนุก ในทฤษฎีพระเคราะห์สนธิ ตอน 3 คณิตคิดสนุก ในทฤษฎีพระเคราะห์สนธิ ตอน 2
คณิตคิดสนุก ในทฤษฎีพระเคราะห์สนธิ ตอน 1 ความหมายดาวและปัจจัยต่างๆ

© Copyright www.UranianSoft.com All rights reserved.