การพยากรณ์จร ด้วยโค้งจันทรยาตร์ | โพสต์ 18 พ.ย.56 15:03 น. : อ่าน 17089 |
นักโหราศาสตร์ยูเรเนียนทุกท่านคงคุ้นเคยกับการพยากรณ์จรตามอายุขัย ด้วยโค้งสุริยยาตร์ กันดีเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นที่นิยมใช้ อีกทั้งให้ผลการพยากรณ์ที่ค่อนข้างได้ผล และทำความเข้าใจได้ง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติของชีวิตที่ต้องดำเนินไปตามเงื่อนไขชะตากรรมของเจ้าชะตาได้เป็นอย่างดี
หลักการพื้นฐานของปรัชญาการพยากรณ์ตามอายุขัย คือ 1 วัน = 1 ปี ซึ่งการพยากรณ์จรด้วยโค้งสุริยยาตร์ ก็จะใช้การโคจรของอาทิตย์ 1 วัน เป็นดวงจรอายุขัย 1 ปีนั่นเอง
อาทิตย์มีอัตราโคจรเฉลี่ย ประมาณ 1 องศา ต่อ 1 วัน (เทียบเท่า 1 ปีของอายุจริง) เรียกว่า อาทิตย์จรสุรยคติ การคำนวณก็คือเอาค่าองศาอาทิตย์กำเนิด - องศาอาทิตย์จรสุรยคติ จะได้ค่าคำนวณผลต่างดังกล่าวเรียกว่า โค้งสุริยยาตร์
อาทิตย์มีอัตราโคจรเฉลี่ย ประมาณ 1 องศา ต่อ 1 วัน (เทียบเท่า 1 ปีของอายุจริง) เรียกว่า อาทิตย์จรสุรยคติ การคำนวณก็คือเอาค่าองศาอาทิตย์กำเนิด - องศาอาทิตย์จรสุรยคติ จะได้ค่าคำนวณผลต่างดังกล่าวเรียกว่า โค้งสุริยยาตร์
หากต้องการสร้างดวงจรอายุขัยตามโค้งสุริยยาตร์ ก็นำค่าโค้งสุริยยาตร์ ไปบวกกับปัจจัยกำเนิดทุกปัจจัย ก็จะได้เป็นดวงจร ซึ่งเรียกว่า ดวงจรโค้งสุริยยาตร์ หรือ ภาษาที่ใช้กันอาจเรียกว่า ดวงกำเนิด+โค้ง หรือ ดวงจรโค้ง v1
สำหรับดวงจรโค้ง v2 นำดวงกำเนิดลบด้วยค่าโค้งสุริยยาตร์ เรียกว่า ดวงกำเนิดลบโค้ง ซึ่ง ดวงจรโค้ง v2 นั้น ที่จริงก็เป็นการสร้างมุมมองใหม่เท่านั้น ไม่ได้แตกต่างกับ v1 แต่อย่างใด เพราะ หากเราอ่านจุดชะตา+โค้ง เทียบกับปัจจัยกำเนิด ก็เหมือนกับเราอ่าน ปัจจัย-โค้ง เทียบกับจุดเจ้าชะตากำเนิด นั่นเอง
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ต้องการอธิบายเกี่ยวกับโค้งจันทรยาตร์มากกว่า จึงขอผ่านเรื่องวิธีการอ่านดวงจรโค้งสุริยยาตร์ไป
โค้งจันทรยาตร์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการใช้ ดวงจันทร์ ซึ่งหลักการทางปรัชญาก็เหมือนกับ โค้งสุริยยาตร์ทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนจากการใช้อัตราการโคจรของอาทิตย์ 1 วัน มาเป็น ใช้อัตราโคจรของจันทร์ 1 วัน แทนอายุขัย 1 ปี ซึ่งจะมีค่าประมาณ 11 - 15 องศา ต่อปีโดยประมาณ เรียกว่า จันทร์จรสุริยคติ
สัญลักษณ์ที่ใช้เรียกดวงจรจันทรยาตร์คือ จจย. เช่น พฤหัส จจย หมายถึง ดาวพฤหัส+โค้งจันทรยาตร์
เนื่องจากจันทร์โคจรเร็ว วันละประมาณ 12 องศา จึงทำให้การพยากรณ์โดยใช้ จันทร์ สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์เป็นเดือนได้ เทียบค่าคร่าวๆ ก็คือ 1 เดือน ต่อ 1 องศานั่นเอง
ข้อสังเกตุ จากอัตราการโคจรของจันทร์จรสุรยคติ ดังกล่าว จะเห็นว่าจะใช้เวลาประมาณ 28 ปี ต่อหนึ่งรอบจักรราศีของจันทร์จรได้ 360 องศา ซึ่งก็เท่ากับ 7 ปี ต่อการที่จันทร์จรเข้าแกน 1 4 7 10 กับจันทร์กำเนิดด้วย ซึ่งวงรอบดังกล่าวน่าจะคุ้ยเคยกับนักโหราศาสตร์บ้าง ดังกล่าวที่พูดกันคือ ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน นั่นเอง และเทียบเท่ากับ ดาวยูเรนัส จรย้ายราศีด้วย
เดิมการพยากรณ์จรด้วยโค้งจันทรยาตร์อาจจะไม่ค่อยได้ใช้กัน สาเหตุไม่ใช่จากการพยากรณ์ไม่ได้ผล แต่มาจากการคำนวณที่ค่อนข้างยุ่งยาก หากใช้จานคำนวณหมุนไปอาจผิดพลาดได้ง่ายจึงนิยมใช้แต่โค้งสุริยยาตร์ ซึ่งจรไปด้วยจานคำนวณได้ง่าย ปีละองศา ไม่จำเป็นต้องคำนวณก็ได้ แต่ถ้าใช้โค้งจันทรยาตร์ สมัยก่อนอย่างน้อยก็ต้องมีปฏิทินโหราศาสตร์ คำนวณหาวันดัชนี แล้วจึงเปิดปฏิทินเพื่อหาค่าจันทร์จรสุริยคติ และจึงมาสร้างดวรจรต่อไป เสียเวลามากเกินไปกว่าที่นักโหราศาสตร์จะยอมรับได้
แต่เมื่อมีโปรแกรมช่วยคำนวณโค้งจันทรยาตร์ และสร้างดวงจรให้โดยอัตโนมัติ ก็จะช่วยให้นักโหราศาสตร์ทำงานได้ง่ายมากขึ้น การนำโค้งจันทรยาตร์มาประกอบการพยากรณ์ร่วมกับโค้งสุริยยาตร์ ก็จะสามารถอำนวยให้พยากรณ์เหตุการณ์กำหนดช่วงเวลาได้แม่นยำมากขึ้น
หลักการสำคัญที่ไม่ควรลืม
1. การพยากรณ์จรด้วยโค้งจันทรยาตร์ ใช้สำหรับกำหนดช่วงเวลาเป็นเดือนของเหตุการณ์
2. ต้องอ่านดวงจรด้วยโค้งสุริยยาตร์มาก่อน ซึ่งหมายถึงการกำหนดเหตุการณ์ในรอบ 1 ปี (ตามหลักการ ปีคุมเดือน เดือนคุมวัน วันคุมชั่วโมง ชั่วโมงคุมนาที) จะข้ามขั้นตอนไม่ได้ ดังนั้นหากเหตุกรณ์ในโค้งสุริยยาตร์ไม่มี ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านโค้งจันทรยาตร์ ต่อไป เพราะถ้ามีเหตุการณ์เกิดเฉพาะในดวงโค้งจันทรยาตร์ ก็จะไม่แรงพอที่จะน่าประทับใจ
1. การพยากรณ์จรด้วยโค้งจันทรยาตร์ ใช้สำหรับกำหนดช่วงเวลาเป็นเดือนของเหตุการณ์
2. ต้องอ่านดวงจรด้วยโค้งสุริยยาตร์มาก่อน ซึ่งหมายถึงการกำหนดเหตุการณ์ในรอบ 1 ปี (ตามหลักการ ปีคุมเดือน เดือนคุมวัน วันคุมชั่วโมง ชั่วโมงคุมนาที) จะข้ามขั้นตอนไม่ได้ ดังนั้นหากเหตุกรณ์ในโค้งสุริยยาตร์ไม่มี ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านโค้งจันทรยาตร์ ต่อไป เพราะถ้ามีเหตุการณ์เกิดเฉพาะในดวงโค้งจันทรยาตร์ ก็จะไม่แรงพอที่จะน่าประทับใจ
วิธีการโดยสังเขป
1. อ่านดวงจรอายุขัย ด้วยโค้งสุริยยาตร์ให้ได้ข้อมูลโครงสร้างที่สำคัญของเหตุการณ์ก่อน อาจเริ่มที่ดวงจร Solar Return เพื่อตั้งดวงโค้งประจำปี
2. ตั้งดวงจรจันทรยาตร์ประจำปี ตามดวงจร Solar Return
3. ค่อยๆ เปลี่ยนเดือนไปทีละเดือน เพื่อตรวจสอบโครงสร้างสำคัญของเหตุการณ์ว่าในเดือนไหน จะแรงที่สุด เพื่อกำหนดเดือนของเหตุการณ์ (หากใช้จานคำนวณจะหมุนไปเดือนละองศา แต่ หากให้โปรแกรมคำนวณอาจมากว่าหรือน้อยกว่า 1 องศา ตามค่าจริงของค่าองศาจันทร์จรสุริยคติประจำวัน)
1. อ่านดวงจรอายุขัย ด้วยโค้งสุริยยาตร์ให้ได้ข้อมูลโครงสร้างที่สำคัญของเหตุการณ์ก่อน อาจเริ่มที่ดวงจร Solar Return เพื่อตั้งดวงโค้งประจำปี
2. ตั้งดวงจรจันทรยาตร์ประจำปี ตามดวงจร Solar Return
3. ค่อยๆ เปลี่ยนเดือนไปทีละเดือน เพื่อตรวจสอบโครงสร้างสำคัญของเหตุการณ์ว่าในเดือนไหน จะแรงที่สุด เพื่อกำหนดเดือนของเหตุการณ์ (หากใช้จานคำนวณจะหมุนไปเดือนละองศา แต่ หากให้โปรแกรมคำนวณอาจมากว่าหรือน้อยกว่า 1 องศา ตามค่าจริงของค่าองศาจันทร์จรสุริยคติประจำวัน)
บูรณาการต่อด้วยโค้งจันทรยาตร์แบบจันทรคติ (ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาทางวิชาการ)
จากเดิมที่โหราศาสตร์ยูเรเนียนใช้โค้งจันทรยาตร์ตามหลักของจันทร์จรสุริยคติ 1 วัน เท่ากับ 1 ปี นั้นมาจากหลักการพื้นฐานของอาทิตย์จร 1 วัน แทน 1 ปี ซึ่งก็คือ อาทิตย์โคจรครบรอบ 360 องศา นั่นเอง นักโหราศาสตร์จึงกำหนดเป็นหลักการ 1 วันของอาทิตย์ = เวลาโคจร 1 รอบของอาทิตย์
ดังนั้น หากเรานำหลักการดังกล่าวมาใช้กับจันทร์ อาจเขียนได้ว่า 1 วันของจันทร์ = เวลาโคจร 1 รอบของจันทร์
เราจึงสามารถสร้างดวงจรอายุขัยอีกแบบตามหลักการของจันทรคติ คือ 1 วัน = 1 เดือนทางจันทรคติ ขอบัญญัติศัพท์ว่า จันทร์จรจันทรคติ ส่วนดวงจรอายุขัยนี้เรียกว่า ดวงจรจันทรยาตร์จันทรคติ และเรียกว่าว่า โค้งจันทรยาตร์จันทรคติ Lunar Arc(จจย.จค) ใช้สัญลักษณ์ v6
ส่วนโค้งจันทร์ยาตร์เดิม เรียกว่า โค้งจันทรยาตร์สุริยคติ (จจย.สค) ใช้สัญลักษณ์ v3
หลักการในการใช้
1. ให้ใช้ประกอบการพยากรณ์ในระดับพยากรณ์เดือนและวัน
2. อ่านจากดวงจรโค้งสุริยยาตร์ก่อนเช่นกัน เพื่อตรวจสอบโครงสร้างในระดับเวลา 1 ปี
3. ในระดับเดือนให้ใช้ดวงจรจันทรยาตร์แบบสุริยคติเป็นหลัก และใช้ดวงจรจันทรยาตร์แบบจันทรคติประกอบโดยการจรเดือนให้ใช้ควบคู่กับดวงอมาวสี หรือ จันทรวรรษ(Lunar Return) หรือ Synodic Return
4. การพยากรณ์เหตุการณ์ในระดับเป็นวันใช้ดวงจรจันทรยาตร์แบบจันทรคติ ซึ่งโดยปกติจะมีค่าประมาณ 1 วัน ต่อ 30 ลิปดา
หลักการในการใช้
1. ให้ใช้ประกอบการพยากรณ์ในระดับพยากรณ์เดือนและวัน
2. อ่านจากดวงจรโค้งสุริยยาตร์ก่อนเช่นกัน เพื่อตรวจสอบโครงสร้างในระดับเวลา 1 ปี
3. ในระดับเดือนให้ใช้ดวงจรจันทรยาตร์แบบสุริยคติเป็นหลัก และใช้ดวงจรจันทรยาตร์แบบจันทรคติประกอบโดยการจรเดือนให้ใช้ควบคู่กับดวงอมาวสี หรือ จันทรวรรษ(Lunar Return) หรือ Synodic Return
4. การพยากรณ์เหตุการณ์ในระดับเป็นวันใช้ดวงจรจันทรยาตร์แบบจันทรคติ ซึ่งโดยปกติจะมีค่าประมาณ 1 วัน ต่อ 30 ลิปดา
บทสรุป
โค้งจันทรยาตร์จันทรคติ เป็นเพียงการพยายามที่จะทดลอง ขยายขอบเขตการพยากรณ์ออกไป โดยอ้างอิงจากปรัชญาพื้นฐานเดิม ทั้งนี้คงต้องผ่านการทดสอบการนำมาใช้จริงต่อไป ซึ่งเดิมคาดว่าคงไม่มีใครใช้มากนัก เนื่องจากการคำนวณหาวันดัชนีและการคำนวณค่าโค้งยิ่งยุ่งไปจากเดิมอีก แต่เมื่อในยุคนี้เราสามารถใช้เทคโนโลยี มาช่วยขจัดปัญหาดังกล่าวได้แล้ว จึงน่าที่จะพัฒนาเทคนิคการพยากรณ์ให้ก้าวหน้ามากขึ้น ทั้งนี้ผู้เขียนมีเจตนาเพื่อทดลองสร้างมุมมองใหม่ๆของการพยากรณ์
|
|